(ไต้หวัน 1) (ไต้หวัน 2) (ไต้หวัน 3) (ไต้หวัน 5) (ไต้หวัน 6) (ไต้หวัน 7)
จากข้าวขาหมูที่เราทานเป็นมื้อแรกในไต้หวัน ทำให้นึกถึงชาวฮั่นจาก มณฑลฝูเจี้ยน และมณฑลกวางตุ้ง ที่ข้ามมาตั้งหมู่บ้าน ค้าขายและทำประมงบนเกาะไต้หวัน ร่วมกับชนเผ่าพื้นเมือง Ketagalan
ชาวจีนอพยพ สร้างให้ไต้หวันกลายเป็นเมืองท่าค้าขายเจริญขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ไต้หวันเริ่มเนื้อหอม ไต้หวันกลายเป็นที่หมายปองของเหล่าบรรดานักล่าอาณานิคมในยุคสำรวจ ศตวรรษที่ 17 ชาวสเปน และชาวดัตช์ เข้ามาจับจองก่อร่างสร้างบ้านเรือนกลายเป็นนิคมใหญ่โต
ขณะนั้นเองในจีนแผ่นดินใหญ่ กำลังระส่ำระสาย ราชวงศ์หมิง ถูกราชวงศ์ชิง ยึดอำนาจ
ขุนศึกราชวงศ์หมิง อันมีนามว่า เจิ้ง เฉิงกง หนีมาถึงเกาะไต้หวัน ได้รวบรวมชนพื้นเมืองและชาวจีนอพยพ ร่วมกันขับไล่ฝรั่งออกไป มีศูนย์กลางอยู่ที่ไถหนาน แต่ต่อมาราชวงศ์ชิง ก็ตามมายึดคืน ทำให้ไต้หวัน ตกเป็นมณฑลหนึ่งของจีนจักรวรรดิชิงได้แยกเกาะออกจากจังหวัดฝูเจี้ยน ประเทศจีนอย่างเป็นทางการ และย้ายศูนย์กลางบริหารจากไถหนานมาที่ ไทเป
ต่อมามีกรณีพิพาทบาดหมางกัน ระหว่างจีนกับญี่ปุ่น เป็นเหตุให้ญี่ปุ่นบุกไต้หวัน และยึดมาเป็นอาณานิคมของจักรวรรดิญี่ปุ่นในปี 1895
ญี่ปุ่นปกครองไต้หวันเป็นเวลากว่า 50 ปี ทุกวันนี้กลิ่นอายความเป็นญี่ปุ่น หลายสิ่งอย่างยังอบอวลอยู่ในไทเป โดยเฉพาะอย่างยิ่งย่านค้าขายสำคัญอย่าง ซีเหมินติง (Ximending)ซีเหมินติง ศูนย์กลางแหล่งช็อปปิ้ง กินเที่ยว ที่คึกคักที่สุดในไทเป ผสมปนเปบรรยากาศคล้ายๆ ญี่ปุ่น จนได้รับสมญานามว่า “ฮาราจูกุ แห่งไทเป” บ้างก็ว่า มาไทเปแล้วไม่ได้มาเช็คอิน Ximending ถือว่ายังมาไม่ถึงไทเป
อย่างแรกสุดที่เห็นได้ชัดๆ ถึงความเป็นญี่ปุ่น ของย่านซีเหมินติง ก็คือ Red House ตึกที่เห็นตั้งแต่วันแรก ที่เดินออกจากสถานีรถไฟฟ้า Ximen เงยหน้าขึ้นมา ก็จะเห็นตึกสีแดงอิฐเด่นเป็นสง่า ต่อมา Red House กลายเป็นตึกที่เราจะต้องเดินผ่านทุกวัน วันละหลายๆ ครั้ง เพราะทริปนี้เราปักหลักยาวอยู่โรงแรม New World ตลอดทั้งทริป ด้วยทำเลสะดวกต่อการท่องเที่ยว อยู่ห่างจาก สถานีรถไฟฟ้า Ximen และ Red House เพียง 550 เมตรตึก Red House สร้างด้วยอิฐสีแดง เป็นตึกทรงแปดเหลี่ยม ต่อกับอาคารรูปทรงไม้กางเขน ออกแบบโดยสถาปนิกชาวญี่ปุ่น คอนโดะ จูโระ มองเผินๆ ไป ทรงคล้ายโกดังเก็บของยุคศตวรรษที่ 19 เพราะสร้างมาตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1908 ยุคอาณานิคมของญี่ปุ่น ย่านซีเหมิน คือแหล่งชุมชนที่มีชาวญี่ปุ่นอาศัยหนาแน่นที่สุด
ตึกแดงในอดีตคือ ตลาดช้อปปิ้งสินค้านำเข้าจากตะวันตก รวมทั้งเป็นโรงภาพยนตร์ฉายหนังตะวันตก โรงละคร การแสดงดนตรีโอเปร่า เรียกได้ว่าเป็นศูนย์กลางความบันเทิงของคนญี่ปุ่นในยุคนั้นอย่างแท้จริงตึกรามบ้านช่องในย่านซีเหมินติง จึงได้รับอิทธิพลจากฝีมือสถาปนิกญี่ปุ่น นอกจากนั้นยังมีตะกอนทางสถาปัตยกรรมญี่ปุ่นให้เห็นอีกหลายแห่งในไต้หวัน อาทิ อาคารสำนักงานประธานาธิบดี และศาลสูงไต้หวัน เป็นต้นปัจจุบันตึกแดง ได้รับการ Renovate ใหม่ คล้ายศูนย์วัฒนธรรม ออกไปในแนว Vintage Gallery นิทรรศการทางประวัติศาสตร์ ร้านค้า คาเฟ่ โรงน้ำชา มีลานกิจกรรมคล้าย Community Space การจัดแสดงงานสร้างสรรค์จากศิลปิน นักออกแบบอิสระ Booth ขายสินค้างาน Craft สินค้าแนว Idea งาน Handmade ต่างๆ
ปี 1945 ญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง การปกครองเกาะไต้หวัน กลับคืนสู่สาธารณรัฐจีน ญี่ปุ่นก็เริ่มหายไป
จากที่เคยไปสัมผัสมา ทั้งญี่ปุ่นและจีน แม้จะไม่บ่อยครั้งและไม่กี่เมืองของทั้งสองประเทศ โดยความรู้สึกส่วนตัวล้วนๆ มองว่าญี่ปุ่นทิ้งมรดกหลายๆ อย่างไว้ให้ไต้หวัน ไม่ว่าจะเป็นการริเริ่มสร้างขนส่งระบบราง ระบบสุขาภิบาล รวมทั้งวางรากฐานระบบการศึกษาฯ
แม้นว่าในยุคนั้นจะออกแนว การกลืนกลายทางวัฒนธรรม เพื่อผูกเกาะในอาณานิคมกับอาณาจักรให้แน่นแฟ้นก็ตามที แต่ก็ดูเหมือนชาวไต้หวันจะค่อนข้างมีระเบียบ Friendly เป็นกันเอง ภาษาจีนที่ชาวไต้หวันพูด ก็ฟังดูสุภาพรื่นหู กว่าที่เคยได้ยินจากที่อื่น(ไต้หวัน 1) (ไต้หวัน 2) (ไต้หวัน 3) (ไต้หวัน 5) (ไต้หวัน 6) (ไต้หวัน 7)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น